ม.วลัยลักษณ์ จัดบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อมือ-รับขวัญน้องใหม่ประดู่ช่อที่ 26

ม.วลัยลักษณ์ จัดบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อมือ-รับขวัญน้องใหม่ประดู่ช่อที่ 26

ม.วลัยลักษณ์ จัดบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อมือ-รับขวัญน้องใหม่ประดู่ช่อที่ 26

ม.วลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อมือ-รับขวัญน้องใหม่ประดู่ช่อที่ 26 โดยอธิการบดี พร้อมคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและรุ่นพี่นักศึกษา ร่วมกันผูกข้อมือรับขวัญ พร้อมอวยพรให้นักศึกษาทุกคน เรียนอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต

เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 9 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ ประจำปีการศึกษา 2566 สร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้แก่นักศึกษาใหม่ ประดู่ช่อที่ 26 โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและรุ่นพี่นักศึกษา ร่วมผูกข้อมือในพิธีบายศรีสู่ขวัญ ต้อนรับนักศึกษาใหม่เข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างเป็นทางการ บรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่น บริเวณลานวลัยลักษณ์สแควร์ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า “กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญเป็นประเพณีของคนไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน แต่นักศึกษาหรือเยาวชนรุ่นใหม่อาจไม่มีโอกาสได้เห็นมากนัก วันนี้จึงเป็นโอกาสดี ที่นักศึกษาจะได้ประสบการณ์ ได้เห็นว่าพิธีเก่าแก่เช่นนี้เป็นอย่างไร พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นพิธีกรรมที่เป็นสิริมงคล ที่ผู้ใหญ่หรือครูบาอาจารย์ ได้ผูกข้อมือให้กับนักศึกษาที่มาปวารณาตัวเป็นลูกศิษย์อย่างเป็นทางการ และอาจารย์ก็รับนักศึกษาทุกคนเป็นลูกศิษย์ ทั้งอาจารย์และนักศึกษาต่างมีหน้าที่ร่วมกัน คือ อาจารย์มีหน้าที่ดูแลลูกศิษย์ทุกคนให้ศึกษาเล่าเรียนจนจบและเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ดูแลให้นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุขในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เหมือนเป็นบ้านหลังที่สอง ส่วนนักศึกษา มีหน้าที่หมั่นหาความรู้ให้มากที่สุด เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วจะได้เป็นบัณฑิตที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยและประเทศชาติต่อไป นี่คือความมุ่งหวังของมหาวิทยาลัยและของคนเป็นอาจารย์ทุกคน”

ทั้งนี้ พิธีบายศรีสู่ขวัญ เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล เป็นการทำพิธีเพื่อเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับตัว ให้ขวัญเป็นเหมือนผู้ที่คอยดูแลประคับประคองชีวิตให้มีจิตใจเข้มแข็ง มีความปลอดภัย ตามความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาพร้อมขวัญที่คอยดูแลรักษา ติดตามเจ้าของให้สุขกายสบายใจเป็นปกติ ซึ่งพิธีบายศรีสู่ขวัญนี้ ชาวไทยเชื่อว่าเป็นพิธีกรรมที่จะช่วยส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็งนั่นเอง

ขอบคุณข่าวและภาพโดย นางสาวชลธิชา ลิมปิติ ส่วนสื่อสารองค์กร

https://intranet.wu.ac.th/th/detail/22875

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.