ตัวแทนนักศึกษา

Previous slide
Next slide

                มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ส่งเสริมประชาธิปไตยในการดำเนินงานของนักศึกษาโดยหวังให้นักศึกษาเข้าใจและเคารพในกระบวนการประชาธิปไตย เพราะนักศึกษาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญสำหรับความเป็นประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัย ยิ่งกว่านั้นการสืบเนื่องของสปิริตที่ได้จากการใช้ชีวิตภายใต้วัฒนธรรมประชาธิปไตยภายในมหาวิทยาลัยนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตทางสังคมในสังคมภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างมีความหมาย (บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์, นักศึกษากับความเป็นประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัย, 2013)

                องค์กรนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยืดมั่นในกระบวนการของประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารในทุกระดับ เพราะการเลือกตั้งเป็นพื้นฐานของการแสดงความคิดเห็นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่นักศึกษาจะได้รับสิทธิ์นี้เมื่ออายุ 18 ปีบริบูรณ์ ในประเทศไทยนักศึกษาสามารถเลือกตั้งได้ทุกระดับ

องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

                องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีหลายระดับเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการบริหารองค์กร ที่มีตั้งแต่องค์กรที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย องค์กรที่สนับสนุนและตรวจสอบการบริหารงาน ดังประกอบด้วย

1. องค์การบริหาร องค์การนักศึกษา

                เป็นองค์กรที่เปรียบเสมือนคณะรัฐบาลที่คอยบริหารประเทศ องค์การนักศึกษาประกอบขึ้นจากตัวแทนนักศึกษาปริญญาตรีทุกชั้นปี มาจากสำนักวิชา/วิทยาลัยที่หลากหลายเพื่อให้เป็นตัวแทนของนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยได้ การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารในระดับนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ผู้สมัครองค์การบริหารฯ รณรงค์หาเสียง

2. สภานักศึกษา

                เปรียบเสมือนรัฐสภาของประเทศ สภานักศึกษาทำหน้าที่สนับสนุนและตรวจสอบการทำงานขององค์การนักศึกษาและองค์กรในสังกัดขององค์การบริหาร องค์การนักศึกษา

3. สโมสรนักศึกษา

                เป็นองค์กรนักศึกษาของแต่ละสำนักวิชา/วิทยาลัยเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านกิจกรรมนักศึกษาของแต่ละสำนักวิชา/วิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากองค์การบริหาร องค์การนักศึกษา การจัดการเลือกตั้งสโมสรนักศึกษาดำเนินการภายในสำนักวิชา/วิทยาลัย

4. ชมรมนักศึกษา

                เป็นหน่วยกิจกรรมตามความสนใจของนักศึกษา ในปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีชมรมนักศึกษาที่ขึ้นทะเบียนต่ออายุกับองค์การบริหาร องค์การนักศึกษาทั้งสิ้น 33 ชมรม ในแต่ละชมรมมีการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารชมรมโดยสมาชิกของชมรม

5. คณะกรรมการหอพักนักศึกษา

                เป็นกลุ่มนักศึกษาในรูปแบบคณะกรรมการของแต่ละหอพักนักศึกษา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนนักศึกษาหอพักแต่ละหอรวมกันเป็นคณะกรรมการกลางหอพักนักศึกษา สังกัดองค์การบริหาร องค์การนักศึกษา จากสถานะการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 มีการปรับรูปแบบการได้มาของคณะกรรมการชุดนี้ จากการเลือกตั้งทั่วไปที่หอพักนักศึกษาทุกหอพัก เป็นการสมัครและแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการหอพักซึ่งต้องได้การรับรองของสมาชิกหอพัก

                อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมประชาธิปไตยในรูปแบบการจำลองการบริหารงานของรัฐบาลตามองค์ประกอบคณะกรรมการข้างต้นจำกัดอยู่เฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาตรีเท่านั้น สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและมหาบัณฑิตมีรูปแบบการดำเนินการในรูปแบบประธานกลุ่มเป็นการดำเนินการอย่างอิสระโดยหลักสูตรของนักศึกษาเอง

การมีส่วนร่วมของนักศึกษา

             มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญต่อนักศึกษา รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะโดยตรงจากนักศึกษา จึงส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในหลายรูปแบบ ดังนี้

ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ซึ่งมีท่านอธิการบดีเป็นประธาน เพื่อรับฟังการรายงานผลการดำเนินการในรอบ 4 เดือนตลอดจนให้แนวทางการดำเนินงานในภาคการศึกษาถัดไป ส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาจะเชิญตัวแทนนักศึกษา ได้แก่ นายกองค์การบริหาร องค์การนักศึกษา และประธานสภานักศึกษา เข้าร่วมการประชุมในฐานะตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เมื่อส่วนส่งเสริมและพัฒนักศึกษาจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิด วางแผนการงานกิจกรรม/โครงการสำหรับนักศึกษา จะได้เชิญชวนตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการต่างๆ ด้วยทุกครับ

ส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษามีเวทีผู้บริหารพบปะนักศึกษาเป็นประจำ 2 กิจกรรม ได้แก่ การประชุมผู้บริหารพบผู้นำนักศึกษา ที่มีรองอธิการบดี (กำกับงานด้านการพัฒนานักศึกษา) และผู้ช่วยอธิการบดี และรักษาการแทนหัวหน้าส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และผู้นำนักศึกษา ประกอบด้วย องค์การนักศึกษา สภานักศึกษา สโมสรนักศึกษาสำนักวิชา/วิทยาลัย ประธานชมรม และคณะกรรมการนักศึกษาหอพัก เข้าร่วมรับฟังทิศทางการบริหารงานของมหาวิทยาลัย และให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรม กิจกรรม ผู้บริหารพบนักศึกษา “Walk’n Talk for change” โดยมีรูปแบบการเดินสำรวจปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยตามเส้นทางที่กำหนดไว้ในแต่ละครั้ง ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนนักศึกษา โดยเป็นการเดินสำรวจในพื้นที่เขตหอพักนักศึกษาซึ่งนักศึกษาใช้ชีวิตส่วนใหญ่

 

นักศึกษาสามารถสื่อสารตรงถึงผู้บริหารผ่านช่องทางสายด่วน หรือการส่งข้อความผ่านโซเชียลมีเดียของส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาโดยตรงตลอด 24 ชั่วโมง

สายด่วน สพน.

การเลือกตั้งองค์การบริหาร องค์การนักศึกษา ปีการศึกษา 2567

Previous slide
Next slide

กิจกรรมนักศึกษา