บริการเพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ

Disabilities Support Services

             มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตระหนักถึงสิทธิความเท่าเทียมกันทางการศึกษาของนักศึกษาทุกคนครอบคลุมนักศึกษากลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จึงได้จัดบริการเพื่อสนับสนุนนักศึกษาพิการ เพื่อเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อย่างเท่าเทียมกับนักศึกษาอื่น โดยการให้บริการจัดตามความต้องการและจำเป็นของนักศึกษาพิเศษเป็นรายบุคคล อีกทั้งให้ความส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาร่วมกับนักศึกษาอื่นเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของนักศึกษาทั่วไปและนักศึกษาพิการเช่นเดียวกับการอยู่กันในสังคมต่อไป

การส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาผู้พิการเข้าศึกษา

             ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้พิการเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2563

อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

             ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ผ่านการบันทึกวีดีโอออนไลน์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและ สถาบันการศึกษา/ หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจำนวน 86 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ วิจัยและพัฒนา นวัตกรรม เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เหมาะสมตามหลักการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design) เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างเท่าเทียมในสังคมและให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของแต่ละฝ่าย ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน

การดำเนินการด้านการสนับสนุนนักศึกษาพิการ

             การดำเนินการด้านการสนับสนุนนักศึกษาพิการ จัดบริการโดยงานแนะแนวและทุนการศึกษา ซึ่งจัดบุคลากรเพื่อให้การช่วยเหลือนักศึกษา 2 คน โดยมีการดำเนินการ ดังนี้

1. การสำรวจนักศึกษาพิการ

โดยการประสานศูนย์บริการการศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกรับนักศึกษาในการสำรวจการเข้าศึกษาของนักศึกษาพิการในแต่ละปีการศึกษา และฝ่ายหอพักนักศึกษา ศูนย์บริหารทรัพย์สิน เพื่อวางแผนพบนักศึกษาพิการที่หอพักนักศึกษา

2. การติดตามนักศึกษาพิการ

เจ้าหน้าที่สนับสนุนจะทำแผนเพื่อติดตามนักศึกษาพิการตามรายชื่อการสำรวจ โดยมีการบันทึกข้อมูลตามมาตรฐานการช่วยเหลือนักศึกษาพิการของ...

3. รายงานผลการสำรวจและช่วยเหลือนักศึกษาพิการ

งานแนะแนวและทุนการศึกษานำข้อมูลผลการสำรวจนักศึกษาพิการแจ้งผู้บริหาร (หัวหน้าส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และรองอธิการบดีที่กำกับงานด้านพัฒนานักศึกษา) และรายงานในการเวทีการประชุมรองคณบดี/ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาทุกสำนักวิชา/วิทยาลัย เพื่อรับทราบผลการให้การสนับสนุนบริการแก่นักศึกษาพิการในความดูแลของแต่ละสำนักวิชา ตลอดจน รับแนวทางการให้ความช่วยเหลืออื่นๆ

4. ติดตามนักศึกษาพิการเพื่อสำรวจความต้องการช่วยเหลือ

เจ้าหน้าที่สนับสนุนช่วยเหลือนักศึกษาพิการจัดทำแผนการติดตามนักศึกษาพิการเพื่อการสำรวจความต้องการช่วยเหลือนักศึกษาพิการตามรอบ โดยเก็บข้อมูลการติดตามนักศึกษาเพื่อรับทราบความต้องการการช่วยเหลือและสนับสนุนต่างๆ จากมหาวิทยาลัย

5. ประสานงานเพื่อการช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาพิการ

เมื่อได้ข้อมูลความต้องการจำเป็นของนักศึกษาพิการแล้วงานแนะแนวและทุนการศึกษาจะได้ประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การช่วยเหลือนักศึกษา

ตัวอย่างการสนับสนุนนักศึกษากลุ่มพิการที่ดำเนินการไปแล้ว

             การดำเนินการด้านการสนับสนุนนักศึกษาพิการ จัดบริการโดยงานแนะแนวและทุนการศึกษา ซึ่งจัดบุคลากรเพื่อให้การช่วยเหลือนักศึกษา 2 คน โดยมีการดำเนินการ ดังนี้

การขอรับทุนการศึกษา จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

นักศึกษาพิการสมัครทุนการศึกษา

แจ้งสิทธิ์การรับทุนการศึกษาและติดตามให้นักศึกษาดำเนินการยื่นรับทุนการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

2. ให้คำปรึกษาด้านการวางแผนการเรียน

นักศึกษารับคำปรึกษา

เช่นเดียวกับนักศึกษาทั่วไป เมื่อนักศึกษาพิการประสบปัญหาทั้งเรื่องการเรียน การใช้ชีวิต หรือปัญหาใด สามารถนัดหมายขอรับคำปรึกษาได้ตลอดเวลา ซึ่งเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาจะให้ความสำคัญและจัดลำดับการบริการให้ก่อน

3. สนับสนุนการทำงานจิตอาสา

นักศึกษาร่วมกิจกรรมจิตอาสา
นักศึกษาร่วมกิจกรรมจิตอาสา

นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาตามหลักค่านิยม 5 ประการ "รักชาติ กตัญญู รู้วินัย ใจอาสา และ พัฒนาภาวะผู้นำ" และเก็บคะแนนความดีให้ครบ 100 คะแนน ก่อนสำเร็จการศึกษา นักศึกษาพิการอาจต้องการความช่วยเหลือพิเศษในการเข้าร่วมกิจกรรมบางประเภท เจ้าหน้าที่จึงได้อำนวยความสะดวกในการประสานผู้จัดกิจกรรมและแจ้งให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถเก็บคะแนนความดีได้ตามกำหนดเช่นเดียวกับนักศึกษาทั่วไป

4. พัฒนาความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา

ประชุมพัฒนาความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา

เจ้าหน้าที่งานแนะแนวและทุนการศึกษา เข้าร่วมโครงการพัฒนาความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ พฤติกรรมหรืออารมณ์ และบุคคลออทิสติกในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนหลักสูตรพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษากลุ่มพิเศษอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

ประชุมพัฒนาความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา

ช่องทางติดต่อ

บริการ Disabilities Support Services
งานแนะแนวและทุนการศึกษา ส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

สำนักงานส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา (ฝั่ง 1)
โทรศัพท์ : 0-7567-3177 และ 0-7567-3181 ภายในกด 73177, 73181
เปิดบริการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น.

ช่องทางออนไลน์

ศูนย์ Smile & Smart Center ได้จัดกิจกรรม Workshop “การพัฒนาตนเองในการดูแลใจ” กับ Coach