วินัยนักศึกษาและสิทธิเสรีภาพที่ควรรู้

Previous slide
Next slide

สิทธิเสรีภาพของนักศึกษา

ถ้าจำลองสังคมให้เล็กลงมา “มหาวิทยาลัย” อาจเทียบได้เป็นสังคมหนึ่งที่ประกอบด้วย นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันในรั่วมหาวิทยาลัย การอาศัยอยู่ร่วมกันจึงต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นด้วย เพื่อให้เราสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา โดยฝ่ายวินัยนักศึกษา สังกัด งานส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา เป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่ของนักศึกษาโดยอาศัยกรอบของระเบียบมหาวิทยาลัย เพื่อปกป้องสิทธิ์ของนักศึกษาทุกคนให้สามารถอยู่ร่วมกันโดยเคารพสิทธิ์ของกันและกันด้วย

การแต่งกายนักศึกษา

นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เพื่อความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีของสถาบัน

วินัยจราจร

มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของนักศึกษา จึงควบคุมการใช้พาหนะของนักศึกษาเพื่อลดความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษา

  • การใช้รถสาธารณะ
    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงได้ส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย มีจุดจอดรถไฟฟ้าในบริเวณอาคารเรียนรวม ศูนย์บรรณสารฯ ศูนย์อาหาร/โรงอาหาร หอพักนักศึกษา โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ และตลาดท่าศาลา โดยนักศึกษาไม่จำเป็นต้องจัดหายานพาหนะมาใช้ระหว่างเรียนแต่อย่างใด
  • การใช้รถจักรยาน
    นักศึกษาทุกคนสามารถนำรถจักรยานมาใช้ได้เพราะมหาวิทยาลัยส่งเสริมการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • การใช้รถจักรยานยนต์
    มหาวิทยาลัยสงวนสิทธิ์การขอขึ้นทะเบียนยานพาหนะและบัตรผ่านให้นักศึกษาที่ใช้รถจักรยานยนต์ต้องศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 เป็นต้นไป โดยนักศึกษาต้องขอมีบัตรผ่านเข้า-ออก มีใบขับขี่ที่ยังไม่หมดอายุ และ รถจักรยานยนต์ที่นำมาใช้ต้องมี พรบ.คุ้มครอง ถูกต้องเท่านั้น
  • การใช้รถยนต์
    นักศึกษาทุกชั้นปีสามารถนำรถยนต์มาใช้ได้ โดยนักศึกษาต้องขอมีบัตรผ่านเข้า-ออก มีใบขับขี่ที่ยังไม่หมดอายุ และ รถยนต์ที่นำมาใช้ต้องมี พรบ.คุ้มครอง ถูกต้องเท่านั้น

ระเบียบประกาศที่เกี่ยวข้อง

บัตรผ่านเข้า-ออกติดรถยนต์ : นักศึกษาทุกชั้นปี

บัตรผ่านเข้า-ออกติดรถจักรยานยนต์ : นักศึกษาชั้นปี 2 ขึ้นไป

สิ่งต้องมีก่อนขอบัตรผ่านเข้า-ออก
1. ใบขับขี่ (ถ่ายรูปได้)
2. สำเนาคู่มือรถ (ถ่ายรูปได้)
3. เอกสาร พรบ.รถ ที่ยังไม่หมดอายุ (ถ่ายรูปได้)

ขั้นตอนการขอบัตรผ่านเข้า-ออก
1. ลงทะเบียนระบบขึ้นทะเบียนยานพาหนะ http://dsaapp.wu.ac.th/vehicle
2. กรอกข้อมูล ใบขับขี่ ข้อมูลรถ ข้อมูล พรบ.คุมครองรถ
3. คลิ้กขอเลขสติ้กเกอร์บัตรผ่าน
4. ติดต่อขอรับบัตรผ่านเข้า-ออก ที่สำนักงานส่วนกิจการนักศึกษา (งานวินัยนักศึกษา) ชั้น 2 อาคารไทยบุรี

นักศึกษาที่นำยานพาหนะมาใช้ภายในมหาวิทยาลัยพึงระวังการขับขี่ให้เป็นไปตามกฏจราจร ปฏิบัติตามกฏวินัยจราจรอย่างเคร่งครัด เช่น จอดรถในพื้นที่ลานจอด ไม่จอดรถในพื้นที่ห้ามจอด ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร ใช้รถอย่างมีน้ำใจ เป็นต้น

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พื้นที่ปลอดภัยจากสิ่งเสพติดและอบายมุข

“มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่และปลอดจากยาเสพติดตามกฏหมาย” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในนามประธานเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน และมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอีก 12 สถาบัน ประกาศนโยบายนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยปลอดจากบุหรี่และยาเสพติด

กิจกรรมเทเหล้า.. เผาบุหรี่ เป็นกิจกรรมรณรงค์สร้างการตระหนักรู้ถึงโทษของบุหรี่ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคมเป็นประจำทุกปี

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และศูนย์ความคุมปัจจัยเสี่ยงจังหวัดนครศรีธรรมราช มอบเกียรติบัตรให้แก่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะที่เป็นหน่วยงานรณรงค์ป้องกันการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชน ประเภทสถานศึกษาระดับดีเด่น ประจำปี 2562

ม.วลัยลักษณ์ รับรางวัลหน่วยงานรณรงค์ป้องกันการเข้าถึงเครื่องแอลกอฮอล์และสารเสพติดระดับดีเด่น ประจำปี 2562

มหาวิทยลัยวลัยลักษณ์จัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดให้แก่นักศึกษาเพื่อรรรงค์ให้ความรู้และโทษของการสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า พืชกระท่อม กัญชา และยาเสพติดประเภทต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากกิจกรรมเหล่านี้

ม.วลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนารณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน

กีฬาเครือข่ายอุดมศึกษาต้านภัยยาเสพติด

นักศึกษาแกนนำองค์กรนักศึกษาและบุคลากร มวล. ร่วมสัมมนาป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ยาเสพติด และอบายมุข : “เทเหล้าเผาบุหรี่ ทำดีเพื่อในหลวง”

สนธิกำลังตั้งด่านคัดกรองกลุ่มเสี่ยงสารเสพติด

สิทธิเสรีภาพของนักศึกษาผู้มีความหลากหลายทางเพศ

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยืดหลักสิทธิ์เสรีภาพของบุคคล ไม่มีนโยบายเลือกปฏิบัติกับบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งรวมไปถึงนักศึกษาที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT

นักศึกษาที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถแต่งกายตามเพศวิถีได้อย่างเสรี หากแต่ต้องแต่งกายด้วยชุดนักศึกษาของมหาวิทยาลัยตามระเบียบ โดยให้นักศึกษาที่ประสงค์แต่งกายตามเพศวิธีของตนดำเนินการ ดังนี้

ขั้นตอนการขออนุญาตแต่งกายตามเพศวิธี
1. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม คำร้องขอแต่งกายตามอัตลักษณ์ทางเพศ
2. ยื่นแบบฟอร์มคำร้อง ที่ สำนักงานส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา อาคารไทยบุรี (ชั้น 2)
3. รอการติดต่อกลับจากฝ่ายวินัยนักศึกษา งานส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา

ระเบียบประกาศที่เกี่ยวข้อง
** ประกาศ มวล. เรื่อง แนวทางการแต่งกายนักศึกษาและบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหรือวิถีทางเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิด พ.ศ. 2560 **

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยืดหลักสิทธิ์เสรีภาพของบุคคล ไม่มีนโยบายเลือกปฏิบัติกับบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งรวมไปถึงนักศึกษาที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 นักศึกษาที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถแต่งกายตามเพศวิถีเพื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรด้วยชุดนักศึกษาพิธีการตามระเบียบของมหาวิทยาลัย โดยให้นักศึกษาที่ประสงค์แต่งกายตามเพศวิธีของตนดำเนินการ ดังนี้

ขั้นตอนการขออนุญาตแต่งกายตามเพศวิธีเพื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร
1. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม คำร้องขอแต่งกายบัณฑิตตามอัตลักษณ์ทางเพศเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร
2. ยื่นแบบฟอร์มคำร้อง ที่ เลขานุการฝ่ายฝึกซ้อมบัณฑิต สำนักงานส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา อาคารไทยบุรี (ชั้น 2)

ระเบียบประกาศที่เกี่ยวข้อง
** ประกาศ มวล. เรื่อง แนวทางการแต่งกายนักศึกษาและบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหรือวิถีทางเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิด พ.ศ. 2560 **

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่มีนโยบายเลือกปฏิบัติต่อนักศึกษากลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT นักศึกษาทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรม จัดกิจกรรม หรือขออนุมัติงบประมาณเพื่อจัดกิจกรรมได้อย่างเสรี

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีนักกิจกรรมที่มีความหลากหลายทางเพศกระจายอยู่ในทุกหน่วยกิจกรรม นักกิจกรรมเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัย

กิจกรรมที่มีนักศึกษากลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศขับเคลื่อนกิจกรรม เช่น กีฬาสีภายใน การประกวดเดือนประดับ..ดาวประดู่ ชมรมเชียร์ลีดเดอร์ ชมรม Cover Dance การประกวด Lady Boy ในงานประเพณีลอยกระทงประจำปี เป็นต้น

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยืดหลักสิทธิ์เสรีภาพของบุคคล ไม่มีนโยบายเลือกปฏิบัติต่อบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งรวมไปถึงนักศึกษาที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT

นักศึกษาที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถได้รับบริการต่อๆ ของมหาวิทยาลัยได้อย่างเท่าเทียมกับนักศึกษาทุกคน ตัวอย่างสิทธิ์ที่นักศึกษาที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับ

  • นักศึกษาสามารถยื่นรับทุนการศึกษาและได้รับพิจารณาทุนการศึกษา
  • นักศึกษาสามารถยื่นกู้ยืมกองทุนเงินยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาล กยศ./กรอ.
  • นักศึกษาสามารถเข้าอยู่หอพักของมหาวิทยาลัย หากแต่ต้องอยู่ให้ตรงกับเพศกำเนิด

นักศึกษาที่มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิ์เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเทียบเท่ากับพลเมืองไทยทุกคน เช่น

  • สิทธิ์ในการสมัครรับเลือกตั้งองค์การบริหาร สภานักศึกษา และ คณะกรรมการหอพักนักศึกษา
  • สิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งองค์การบริหาร สภานักศึกษา คณะกรรมการหอพักนักศึกษา และการเลือกตั้งระดับต่างๆ ของประเทศ

บริการด้านวินัยนักศึกษา

ขอหนังสือรับรองความประพฤติ (ออนไลน์)

นักศึกษาสามารถขอหนังสือรับรองความประพฤติผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อใช้ในการทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัย หรือ ขอทุนการศึกษาหน่วยงานภายนอก และหนังสือรับรองประกอบการฝึกสหกิจศึกษา / ประกอบการสมัครงาน หรือ ศึกษาต่อ

นักศึกษาสามารถเลือกรูปแบบของหนังสือรับรองความประพฤติว่าประสงค์จะให้ดำเนินการตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือแบบอื่นซึ่งมีลักษณะเฉพาะของแต่ละหน่วยงานกำหนด โดยนักศึกษาสามารถแนบไฟล์ตัวอย่างมาพร้อมคำขอด้วย นอกจากนี้ นักศึกษาสามารถเลือกวิธีการรับหนังสือรับรองความประพฤติได้ทั้งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือให้จัดส่งตามที่อยู่ตามที่นักศึกษาให้ไว้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายวินัยนักศึกษาจะดำเนินการภายใน 3 วันทำการ ติดต่อขอรับได้ที่ งานบริหารทั่วไปและธุรการ ส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

ส่งบันทึกการบำเพ็ญประโยชน์รับใช้สังคม (แก้คะแนนความประพฤติ) ออนไลน์

การส่งบันทึกการบำเพ็ญประโยชน์รับใช้สังคม(แก้คะแนนความประพฤติ) ออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาที่มีความประสงค์จะแก้คะแนนความประพฤติและได้บำเพ็ญประโยชน์รับใช้สังคม โดยได้ปฏิบัติกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์รับใช้สังคมเรียบร้อยและมีการรับรองโดยผู้ควบคุมกิจกรรมตามแบบฟอร์มที่งานวินัยนกศึกษากำหนดแล้ว

นักศึกษาสามารถถ่ายภาพเอกสารที่มีการบันทึกข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว พร้อมกับภาพถ่ายกิจกรรมแนบเป็นหลักฐานประกอบการยื่นคำขอแก้คะแนนความประพฤติ ซึ่งตามเกณฑ์การขอแก้คะแนนความประพฤตินั้น นักศึกษาสามารถขอแก้คะแนนความประพฤติได้โดยทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์รับใช้สังคม 1 ชั่งโมงต่อ 1 คะแนน ซึ่งนักศึกษาสามารถทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์สะสมชั่วโมงได้เมื่อครบแล้วจึงส่งแบบบันทึกการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อขอแก้คะแนนความประพฤติ ดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและเอกสารแนบและสอบถามผู้ควบคุมกิจกรรมว่าถูกต้องตรงกันแล้วทั้งรูปแบบกิจกรรม วันเวลา และระยะเวลาการทำกิจกรรม โดยเจ้าหน้าที่งานวินัยนักศึกษาจะตรวจสอบและรวบรวมปรับปรุงข้อมูลเพื่อแก้คะแนนความประพฤติสัปดาห์ละครั้งกล่าวคือ ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์

ดังนั้น นักศึกษาที่ยื่นคำขอแก้คะแนนความประพฤติออนไลน์ไว้สามารถตรวจสอบข้อมูล หรือทักท้วงกรณีข้อมูลไม่ถูกต้องหรือยังไม่ถูกแก้ไขคะแนนความประพฤติได้ในสัปดาห์ถัดไป

เจ้าหน้าที่งานส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์

บุคลากรงานส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ประกอบด้วย

ภราดร จีนชาวนา

ภราดร จีนชาวนา (พี่ดร)

หัวหน้างาน/พาสปอร์บัณฑิตคนดี
โทร. 075-673167 โทร.ภายใน 73167

วงกลม-มณเฑียร

มณเฑียร สุขกุล (พี่มณ)

ดูแลศูนย์อาสา WU Volunteer
โทร. 075-673164 โทร.ภายใน 73164

วงกลม-โอม

โอม สุขปลอด (พี่โอม)

ที่ปรึกษาองค์กรนักศึกษา
โทร. 075-673175 โทร.ภายใน 73175

วงกลม-สุริยันต์

สุริยันต์ ถึงแสง (พี่ยัน)

ดูแลด้านวินัยนักศึกษา
โทร. 075-673161 โทร.ภายใน 73161

วงกลม-ชวนพิศ

ชวนพิศ เกื้อมา (พี่ยาย)

ดูแลด้านวินัยนักศึกษา/อาคารกิจกรรมนักศึกษา
โทร. 075-673162 โทร.ภายใน 73162

วงกลม-นางสาวสัชกร ชัยณรงค์

สัชกร ชัยณรงค์ (พี่น้ำ)

ดูแลด้านศิษย์เก่าสัมพันธ์
โทร. 075-673160 โทร.ภายใน 73160

การติดต่อ

สามารถติดต่องานส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ได้ที่

สำนักงานส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา อาคารไทยบุรี ชั้น 2

โทรศัพท์ 075-673160-6 (วัน-เวลาทำการ )